เมื่อเครื่องทำความเย็นให้กับห้องเย็น จนอุณหภูมิลดลงมาถึงอุณหภูมิที่ต้องการแล้วเทอร์โมส-ตัทจะสั่งให้ชุดคอนเดนซิ่งยูนิตหยุดทำงานส่วนพัดลมคอล์ยเย็นในห้องเย็นยังทำงานอยู่จนเมื่ออุณหภูมิในห้องเย็นเพิ่มขึ้นจากเดิมประมาณ 3 ถึง 5 องศาเซลเซียส เทอร์โมสตัทจะสั่งต่อให้ชุดคอนเดนซิ่งยูนิตทำงานอีกครั้ง และเมื่ออุณหภูมิลดลงมาถึงอุณหภูมิที่ต้องการแล้วเทอร์โมสตัทจะสั่งให้ชุดคอนเดนซิ่งยูนิตหยุดทำงานอีก และจะวนเวียนอยู่เช่นนี้ไปเรื่อยๆ ตราบใดที่เราเปิดเครื่องทำความเย็นอยู่
แต่เมื่อเครื่องทำความเย็นไปได้ระยะเวลาหนึ่งประมาณ 4 ถึง 6 ชั่วโมง จะเกิดน้ำแข็งเกาะที่คอล์ยเย็น เนื่องจากไอน้ำในห้องเย็นกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ และถูกทำความเย็นจนแข็งเกาะที่คอล์ย ดังนั้นในระบบจึงมี “DEFROST TIMER” ไว้สำหรับสั่งฮีตเตอร์ให้หยุดการทำงานทุกๆ 4 ถึง 6 ชั่วโมง ตามที่เราตั้งไว้ เพื่อขจัดน้ำที่เกาะคอล์ยเย็นออกไปโดยจะสั่งให้ชุดเครื่องทำความเย็นหยุดทำงานประมาณ 10 ถึง 15 นาที
และเมื่อครบเวลาก็จะสั่งหยุดการทำงานของฮีตเตอร์และสั่งให้ชุดเครื่องทำความเย็นทำงานต่อไป ทั้งนี้เพื่อให้ลมที่หมุนเวียนผ่านคอล์ยเย็นสามารถถ่ายเทความเย็นได้สะดวก ขณะที่ทำการละลายน้ำแข็งนี้ไฟโชว์สีแดงหน้าตู้จะสว่าง ไฟเขียวจะดับ
ในกรณีที่น้ำแข็งเกาะที่คอล์ยเย็นมากๆ และเมื่อใช้การละลายน้ำแข็งระบบอัตโนมัติแล้วไม่เพียงพอ ให้ช่วยละลายน้ำแข็งด้วยวิธี MANUAL โดยกดสวิตซ์ละลายน้ำแข็งที่ตัว CAREL ค้างไว้ 5 วินาที ไฟสีแดงจะสว่าง ไฟสีเขียวจะดับ เครื่องทำความเย็นจะหยุดทำงาน และฮีตเตอร์จะทำงานต่อไป เมื่อน้ำแข็งละลายหมด เครื่องทำความเย็นจะกลับมาทำงานเองตามปรกติ
03 เมษายน 2567
ผู้ชม 118 ครั้ง